ชมวีดีถ่ายทอดสด วันสมองโลก – 22 กรกฎาคม
Live‼️ กิจกรรม ? วันสมองโลก – 22 กรกฎาคม ? เวิร์กช็อปออนไลน์ เรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบปฏิบัติจริง กับ ดร.สจ๊วต โคลฮาเกน (Dr. Stuart Kohlhagen) ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง IPST Thailand Australian Embassy, Thailand และ Goethe-Institut Thailand
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม ? https://www.facebook.com/events/846666725963791
#สสวท #IPST #วิทยาศาสตร์ #Science #WorldBrainDay #วันสมองโลก
วันสมองโลก 22 กรกฎาคม
.
วันสมองโลก ตรงกับวันที่ 22 กรกฎาคมของทุกปี กำหนดขึ้นโดยสหพันธ์ประสาทวิทยาโลก (WFN) เพื่อสร้างความตระหนักแก่ผู้คนและรณรงค์การสนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวกับสุขภาพสมอง มวลวัตถุที่มีรอยหยักในศีรษะของเรานี้มีน้ำหนักประมาณ 1.3 กก. ทำหน้าที่ควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างที่เรากำลังจะทำ สมองสามารถสั่งการให้เราคิด เรียนรู้ สร้างสรรค์ และสร้างความรู้สึก เช่นเดียวกับคอยควบคุมทุกอิริยาบถทั้งการกระพริบตา การหายใจ และการเต้นของหัวใจ สมองของเรามีเซลล์ขนาดเล็กที่เรียกว่านิวรอน (เซลล์ประสาท) ไว้มากกว่าแสนล้านเซลล์ ไม่ว่าในขณะที่เรากำลังฝัน หัวเราะ คิด มองเห็น หรือเคลื่อนไหว ทั้งหมดนี้ล้วนมาจากสารเคมีขนาดเล็กและการส่งสัญญาณไฟฟ้าวิ่งไปที่นิวรอนมากกว่าพันล้านเซลล์ น่าเหลือเชื่อว่ากิจกรรมในสมองของเราไม่เคยหยุดนิ่ง สารและข้อความนับไม่ถ้วนถูกบีบอัดไว้ด้วยกันข้างในนั้นทุกๆ วินาที ลองคิดดูสิว่านิวรอนหรือเซลล์ประสาทของพวกเราสร้างสรรค์และส่งข้อความได้มากกว่าโทรศัพท์ทุกเครื่องบนโลกมารวมกันเสียอีก!
.
กิจกรรมเวิร์กช็อปออนไลน์เรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบปฏิบัติจริง โดย ดร.สจ๊วต โคลฮาเกน (Dr. Stuart Kohlhagen) จัดขึ้นในวันที่ 22 กรกฎาคม 2564 ตั้งแต่เวลา 13.00-15.00 น. ผ่านไลฟ์สดบนหน้าเฟซบุ๊คของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กิจกรรมนี้เป็นการมุ่งประเด็นไปที่การเรียนรู้และการจดจำผ่านซีรีส์กิจกรรมเวิร์กช็อปออนไลน์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ครูผู้สอน นักจัดกิจกรรมด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ และผู้ปกครอง ซีรีส์กิจกรรมเวิร์กช็อปในครั้งนี้จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย ประจำประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย กิจกรรมเวิร์กช็อปออนไลน์ครั้งที่ผ่านมาได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2564 เนื่องในโอกาสวันทะเลโลก โดยกิจกรรมทั้งสองครั้งจะจัดเป็นภาษาอังกฤษและมีแปลภาษาไทยและสามารถเข้ารับชมได้ทางออนไลน์ผ่านไลฟ์สดบนหน้าเฟซบุ๊ค IPST Thailand ของ สสวท. และบนเว็บไซต์ SEADSTEM แพลตฟอร์มดิจิทัลด้านสะเต็มศึกษาระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (www.seadstem.org)
.
ดร.สจ๊วต โคลฮาเกน หรือที่รู้จักกันในนาม The Science Nomad เป็นผู้นำการออกแบบและพัฒนาการจัดแสดงงานแบบที่ผู้ชมมีส่วนร่วม อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในการวางรูปแบบและจัดตารางกิจกรรม การแสดง และกิจกรรมสาธิตต่างๆ ที่ก่อให้เกิดหัวใจสำคัญของกิจกรรมมากมายในเควสทาคอน (Questacon) หรือศูนย์วิทยาศาสตร์แห่งออสเตรเลีย รวมถึงกิจกรรมประชาสัมพันธ์อีกด้วย ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งออสเตรเลีย (Questacon) เป็นศูนย์ที่อำนวยความสะดวกเรื่องการสื่อสารด้านวิทยาศาตร์ระหว่างกัน ตั้งอยู่ในกรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย ดร.สจ๊วตได้นำกิจกรรมเวิร์กช็อปจากนานาชาติจำนวนมากมายมาพัฒนาในรูปเเบบการจัดนิทรรศการ เเละยังเป็นวิทยากรอบรมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรจากศูนย์วิทยาศาสตร์ในนานาประเทศอย่างมืออาชีพอีกด้วย ดร. สจ๊วต โคลฮาเกน เคยดำรงตำแหน่งประธานเครือข่าย Australian Science and Technology Exhibitors Network (ASTEN) ระหว่างปี พ.ศ. 2555-2559 ปัจจุบันเป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งออสเตรเลีย (Australian Academy of Sciences)